ติวสอบเข้าโรงเรียนตราษตระการคุณ จ.ตราด เรียนพิเศษตัวต่อตัว

ติวสอบเข้าโรงเรียนตราษตระการคุณ จ.ตราด เรียนพิเศษตัวต่อตัว

ติวสอบเข้าโรงเรียนตราษตระการคุณ จ.ตราด เรียนพิเศษตัวต่อตัว

ประวัติโรงเรียนตราษตระการคุณ

“จากกุฏิเล็กๆ ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในวัดไผ่ล้อมมาสู่พื้นที่ซึ่งรกร้าง แต่หาได้รกร้างซึ่งน้ำใจและความเมตตาของผู้คนไม่ จึงกลายเป็นสถานศึกษาสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดตราดในวันนี้ ควรค่าแก่ความภูมิใจของบุคคลที่ร่วมสรรค์สร้าง”
ช่วงที่ 1 : สำนักเรียนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม สู่ เวฬุสุนทรการ

          ในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ วัดไผ่ล้อม เมืองตราด ภิกษุเจ้ง อายุประมาณ 30 ปีเศษ เป็นพระสงฆ์ที่บวชมานานจนชาวบ้านเรียกว่า ขรัว ได้ทำหน้าที่ให้การศึกษาแกเยาวชน ความเข้มงวดกวดขันทำให้การสอนได้ผลดี เป็นที่นิยมชมชื่นของชาวบ้าน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ สำนักท่านขรัวเจ้ง วัดไผ่ล้อม

          พ.ศ. 2442 สำนักเรียนของท่านขรัวเจ้งที่ตั้งขึ้นมาด้วยใจรัก เริ่มขยายใหญ่ขึ้น มีนักเรียนรวม 40 - 60 คน แต่ท่านก็ยังเป็นครูสอนเองแบบให้เปล่า ในปีการศึกษานี้มีการสอบวัดผลการเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรงในเมืองตราด เจ้าคณะมณฆล ซึ่งในเวลานั้นคือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ครั้งยังเป็น พระสุคุณคณาภรณ์เป็นเจ้าคณะมณฆลเป็นประธานในการสอบไล่นักเรียนได้มาเห็นสำนักของท่านขรัวเจ้งวัดไผ่ล้อมที่จัดการสอนมาก่อนวัดอื่นๆในจังหวัดตราด จึงมีบัญชาให้จัดตั้งเป็น โรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดตราด ชื่อ สำนักสอนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม การตั้งโรงเรียนแผนแบบใหม่อย่างเป็นทางการครั้งแรกในจังหวัดตราดนี้ พระอาจารย์เจ้งรับหน้าที่เป็นครูสอนเองดังเดิมได้รับนิตยภัตร (เงินเดือน) เดือนละ 25 บาท

          พ.ศ. 2456 โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น สถานศึกษาบนกุฏิสองหลังจึงคับแคบ ประกอบกับจะได้ขยายเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ด้วยความร่วมมือจากผู้ว่าราชการเมืองตราด พระยาสุนทรทราธรธุรกิจ (หมี ณ ถลาง) จัดการบอกบุญเรี่ยไรเงินสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ให้ชื่อว่า โรงเรียนเวฬุสุนทรการ ซึ่งมัความหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดไผ่ล้อมกับพระยาสุนทรทราธรธุรกิจผู้เป็นกำลังสำคัญในการจัดสร้างอาคารเรียนใหม่ปรากฏชื่อในสมุดโรงเรียนว่า โรงเรียนประจำจังหวัดเวฬุสุนทรการ เป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดตราด
 

ช่วงที่ 2 : เวฬุสุนทรการ สู่ ตราษตระการคุณ

     พ.ศ. 2461 พระตราษบุรีศรีสมุทร์เขตต์ (ธน ณ สงขลา) ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดคนใหม่ได้พิจารณาเห็นว่าโรงเรียนเวฬุสุนทรการไม่เหมาะที่จะเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดตราดจึงเรี่ยไรเงินจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ ใกล้กับสโมสรเสือป่า (ปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอเมือตราดหลังเก่า)

     พ.ศ. 2463 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีเศษ รวมค่าก่อสร้าง 4,670.50 บาท และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2463 โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) เป็นประธาน และให้นามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนตราษตระการคุณ อันเป็นมงคลนาม และเป็นอนุสรณ์แด่พระตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์ (ธน ณ สงขลา) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างอาคารเรียนหลังนี้ อาคารเรียนที่สร้างขึ้นเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ภายในโล่ง จุนักเรียนได้ 160 คน การเรียนการสอนแบ่งเป็นระดับประถมศึกษา คือ ป.1 - ป.4 กับระดับมัธยมศึกษา คือ ม.1 - ม.3 (เทียบเท่า ป.5 - ป.7 ในสมัยต่อมา)

     พ.ศ 2479 มีการจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตราดขึ้น คือ โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ในปัจจุบัน (ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนอนุบาลตราดในปัจจุบัน) โรงเรียนตราษตระการคุณได้ย้ายนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมด กับนักเรียนหญิงไปเรียนที่โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ รวมทั้งครูสตรีก็ย้ายตามนักเรียนไปด้วย โรงเรียนตราษตระการคุณจึงมีแต่นักเรียนชายล้วนและมีการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น โรงเรียนตราษตระการคุณใช้สถานที่นี้เป็นที่เล่าเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 สืบจนถึง พ.ศ. 2484 เป็นเวลานานถึง 22 ปี

พ.ศ. 2483 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ตามแบบ ร.1 โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก พล.ร.ท.สินธุ์ กมลนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น มีพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่นี้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 โดยหลวงนรนิติผดุงการ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 14,475 บาท ส่วนอาคารหลังแรกนั้น ภายหลังได้รื้อถอน เพราะชำรุดทรุดโทรมมาก เครื่องก่อสร้างที่พอจะใช้ได้ ก็นำไปเป็นโรงพลศึกษาขึ้นอีกหลังหนึ่ง

     พ.ศ. 2495 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุเคราะห์ให้เงินจรมาสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกหลังหนึ่ง เป็นหลังที่ 2 เป็นเงิน 200,00 บาท

     พ.ศ. 2506 กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติเงิน 150,00 บาท มาสร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 เป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน

 

 ช่วงที่ 3 : ตราษตระการคุณในทุ่งกว้าง

     พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงินงบประมาณ 150,000 บาท และเงินบำรุงการศึกษา 15,000 บาท สร้างหอประชุมและโรงอาหารโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด ได้จัดการเรียนการสอนเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ แต่การที่มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากทุกปี ประกอบกับพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงโรงเรียนไม่สามารถขยายตัวได้อีกเพราะติดสถานที่ราชการอื่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโรงเรียนในภายหน้า นายประจำ ประทีปฉาย ศึกษาธิการจังหวัดตราด และ นายลพ ชูแข อาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด มีความคิดตรงกันว่าต้องหาที่ดินผืนใหม่ให้โรงเรียนตราษตระการคุณ และที่ดินผืนนั้นน่าจะเป็นทุ่งเนินตาแมวอันรกร้างและกว้างใหญ่พอที่จะรองรับลูกหลานชาวตราดให้มีที่เรียนเพียงพอได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งที่ดินผืนนี้ห่างจากสถานที่ตั้งเดิมเพียง 1.5 กิโลเมตร จึงทำการจับจองได้เนื้อที่ 139 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา ด้วยความเห็นชอบและสนับสนุนจากนายสงัด รอดมั่น ที่ดินจังหวัด และนายจรัส เทศวิศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดในสมัยนั้น

     พ.ศ. 2513 กรมสามัญศึกษา อนุมัติให้ย้ายโรงเรียน และได้จัดสรรเงินงบประมาณให้สร้างอาคารเรียน แบบ 318 (นับว่าเป็นอาคารโครงสร้างแบบตึกหลังแรกของจังหวัดตราด) จำนวน 1 หลัง บ้านพักครู 2 หลัง ส้วมนักเรียน 1 หลัง ระยะแรกมีปัญหามาก แต่ในที่สุดก็ผ่านพ้นไปด้วยดีแม้จะเสียเวลาไปบ้างสิ้นเงินงบประมาณ 2,250,000 บาท

        พ.ศ. 2515 ขนย้ายนักเรียนบางส่วนมาเรียนที่ท้องทุ่งเนินตาแมว

    พ.ศ. 2518 ย้ายนักเรียนมาครบทั้งหมดทุกชั้น ทิ้งสถานที่ตั้งแห่งเก่าและอาคาร 3 หลัง ไว้เป็นสมบัติของโรงเรียนอนุบาลตราดสืบไป ซึ่งสมัยนั้นตรงกับนายสุรจิตร ภัทรคามินทร์ ผู้บริหารโรงเรียนคนที่ 14 เมื่อย้ายนักเรียนทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด ได้เข้าโครงการ คมภ. 2 รุ่นที่ 5 ซึ่งโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกและได้รับความช่วยเหลือในด้านผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนาคา เป็นโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนภูมิภาค กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ หอประชุม โรงฝึกงาน พร้อมอุปกรณ์ทางด้านงานอาชีพ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ครบถ้วน

 

 ตราประจำโรงเรียน  ประกอบด้วยโล่ มีทะเลอันสงบ ซึ่งเหมือนวิถีชีวิตของชาวตราด พระอาทิตย์ฉายแสงรัศมีเป็นครึ่งวงกลมเหนือภูเขา ขอบล่างโล่มีข้อความ "โรงเรียนตราษตระการคุณ" ขอบบนปรากฏคติพจน์โรงเรียน "นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา" ใต้โล่เป็นรูปกิ่งของต้นไผ่และผูกด้วยริบบิ้น อันหมายถึงโรงเรียนนี้เกิดจากสำนักเรียนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม

 คติพจน์โรงเรียน : "นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา" (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)

 ปรัชญาโรงเรียน : มุ่งมั่นพัฒนาวิชาการ   สืบสานประเพณี   มากมีคุณธรรม   เลิศล้ำพลานามัย

 คำขวัญโรงเรียน : บรรยากาศดี  มีวินัย  ใฝ่ศึกษา  กีฬาเด่น  เน้นคุณธรรม

 เอกลักษณ์โรงเรียน : วิชาการดี  เทคโนโลยีทันสมัย

 อัตลักษณ์โรงเรียน : บุคลิกดี  มีวินัย  มีน้ำใจต่อสาธารณะ

 สีประจำโรงเรียน : เหลือง – ฟ้า
สีเหลือง หมายถึง  คุณธรรม  ความดีงาม
สีฟ้า  หมายถึง  ความปราชญ์เปรื่อง  รุ่งโรจน์  ความรับผิดชอบ

 ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ยางกราด

 

โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด(facebook)
@tkschool2557  · โรงเรียน

  

 

 

 TutorBento.com รับสอนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สอนพิเศษตัวต่อตัว ด้วยทีมติวเตอร์คุณภาพ


สมัครเรียนพิเศษที่บ้าน https://bit.ly/33zhwlN
สมัครเป็นติวเตอร์กับเรา https://bit.ly/3tAxUNL

 

 สนใจเรียนพิเศษที่บ้าน สนใจครูสอนพิเศษ สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว สนใจหาครูสอนพิเศษ สนใจกวดวิชา

 สนใจติวเตอร์สอนตัวต่อตัว สนใจติวเตอร์สอนที่บ้าน Click 


 Download ข้อสอบ O-NET ป6

 Download ข้อสอบ O-NET ม3

 Download ข้อสอบ O-NET ม6

 Download ข้อสอบ 9วิชาสามัญ

 Download ข้อสอบ PAT

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้