ติวสอบเข้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพ เรียนพิเศษ

โรงเรียนเทพศิรินทร์

ติวสอบเข้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพ เรียนพิเศษที่บ้าน
 
 
 ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพ
 โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ ๑๔๖๖ ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๘ ไร่ ๓งาน ๕๖ตารางวา เป็นที่ของ วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ ญาณวรเถร) เจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ผู้อุปการะได้มอบที่ดินในส่วนนี้ให้โรงเรียนปกครองเองทั้งหมด ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕
      โรงเรียนเทพศิรินทร์ ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๔๕
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภถึงพระราชประสงค์ ในการที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวดเร็ว จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้จัด ตั้งการศึกษาสำหรับราษฏรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้ทรงสนองพระบรมราชโองการ จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลีขึ้นภายในวัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ว่าพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) เจ้าอาวาสองค์ที่๒ แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรมบาลี และ โรงเรียนภาษาไทย โดยมีข้อความปรากฏอยู่ในประวัติของวัดเทพศิรินทราวาส ว่า โรงเรียนหนังสือภาษาไทยเดิมนั้นได้อาศัย ศาลาการเปรียญเป็นที่สอน โรงเรียนนั้นอยู่ในความอำนวยการของเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ถึงปี พ.ศ.๒๔๓๓ จึงย้ายไปสอนที่โรงเรียนเจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิตย์ คณะกลาง หลังจากนั้นย้ายไปสอนที่ กุฏิเจ้าอาวาสคณะเหนือ ภายหลังย้ายไปสอนที่โรงเรียนนิภานภดลคณะใต้ ภายหลังมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เข้ามาเป็นผู้จัดการ และมีเจ้าอาวาสเป็นผู้อุปการะโรงเรียนครั้งนั้นได้มีสามเณร ชื่อว่า พุฒ สามารถสอบได้เปรียญเอก และเป็นครูได้รับแต่งตั้งเป็นครูเอก ซึ่งต่อมาสามเณรพุฒ ได้อุปสมบถแล้ว ลาสิกขามีบรรดาศักดิ์เป็น พระยากฤษณะราชอำนวยศิลป์ธรรมจิตต์วรสภาภักดี
ปรากฎในราชกิจจานุเบกษาเล่ม๓ จ.ศ.๑๒๔๘ มีว่าในเดือน ๓ ปีระกาสัปตศก จ.ศ.๑๒๔๗ พ.ท.พระเจ้าน้องยา เธอดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ได้รับกระแสพระราชดำริให้สนอง พระบรมราชโองการ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรตามพระอารามขึ้น ในวันที่๑๕ เดือนสาม ปีระกาสัปตศก จ.ศ.๑๒๔๗ (พ.ศ.๒๔๒๘) ซึ่งในเดือนแรกที่ตั้งโรงเรียนนั้น มีนักเรียน๕๓คน สถานที่ตั้งโรงเรียนก็คือศาลาการเปรียญซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ที่ตั้งศาลาการเปรียญเดิมปัจจุบันเป็นหมู่กุฏิ ใกล้ห้องสมุดสามาวดี อาจารย์ที่๑อาจารย์ใหญ่คนแรกคือ นายเปลี่ยน แต่จากจดหมายเหตุรัชกาลที่๕ ปรากฏนามว่าอาจารย์ใหญ่คนแรกคือ นายรวก คนที่สองคือนายคำแต่ท่านทั้งสอง ดำรงตำแหน่งอยู่ในเวลาอันสั้นมาก ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ฉบับ ร.ศ.๑๐๘ (พ.ศ.๒๔๓๒) ว่าในปี จ.ศ.๑๒๕๐ (พ.ศ.๒๔๓๑) โรงเรียนวัดเทพ ศิรินทราวาส ได้ส่งนักเรียนสอบไล่ที่หอมิวเซียม ในพระบรมมหาราชวัง ร่วมกับโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และ โรงเรียนหลวงในวัดต่างๆ ซึ่งโรงเรียนเทพศิรินทร์สอบได้เป็นอันดับที่สอง แต่ ได้พระราชทานรางวัลสอบ ไล่ได้มากนักเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน๔คน และ อาจารย์ที่๑ (อาจารย์ใหญ่) ได้รับพระราชทานรางวัลที่ ๒ เพราะสั่งสอนอบรมดีเป็นเงิน ๓๐ บาท ในปี ร.ศ.๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) การสอบไล่ ย้ายไปกระทำที่โรงเรียนสุนันทาวิทยาลัย (โรงเรียนราชินีล่าง) โรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาสส่งนักเรียนเข้าแข่งขันและสอบได้เช่นกัน วันที่๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัด เทพศิรินทราวาส มีเด็กนักเรียนยืนเฝ้ารับเสด็จที่ซุ้มประตูร้องคำโคลงถวายชัยมงคล พระองค์ได้เสด็จทอด พระเนตร โรงเรียนภาษาไทย และภาษาบาลีในวัดนี้ด้วยทรงพอพระทัยในกิจการของโรงเรียนเป็นอย่าง
ในช่วงก่อนปี พ.ศ.๒๔๔๕ นั้นโรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาส ยังไม่มีอาคารเรียนเป็นเอกเทศ ซึ่งการเรียนการสอน นั้นทำได้โดยอาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาส ในปีพ.ศ.๒๔๐๔ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จสู่สวรรคต พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชชนนีแห่งองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ และ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ โดย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้นทรงมีพระดำริที่จะก่อสร้างอนุสาวรีย์ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นไว้เพื่อสนองพระเดชพระคุณเป็นที่ทรงระลึกถึงพระราชชนนีแต่ด้วยเหตุที่ทุนทรัพย์ยังไม่พอเพียง และ อีกทั้งยังไม่มีเหตุการณ์ในอันเป็นเครื่องเตือนใจให้รุกเร้ากระทำสิ่งนั้นการต่างๆที่ทรงพระดำริจึงเป็นที่ระงับกันอยู่
 
 
 สัญลักษณ์โรงเรียน :  ตรานี้ โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้ใช้เป็นตราเสื้อสามารถของโรงเรียนตลอดจนสมาคมนักเรียนเก่า ฯ ด้วย จึงขออธิบายพอสังเขปว่า องค์ประกอบของตราโรงเรียนนั้น มีความหมายทั้งสิ้น
-ตราพระอาทิตย์กับทะเล แสดงถึงพระอาทิตย์พึ่งแรกขึ้น หมายถึงสมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรดช ภาณุรังษี แปลว่าพระอาทิตย์พึ่งแรกขึ้น พระองค์ท่านมีพระเดชพระคุณต่อโรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นเอนกประการ ได้ทรงสร้างตึกแม้นนฤมิตรให้ป็นสถานที่เล่าเรียน ซึ่งเป็นตึกแรกของโรงเรียน
-อักษร "ม" หมายถึง หม่อมแม้น ภาณุพันธ์ ณ อยุธยา เป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกชั้นหนึ่งของหม่อมแม้น เพราะตึกที่สมเด็จ ฯ ทรงสร้างนั้น อุทิศสวนกุศลแด่หม่อมแม้น หมายความว่าถ้าไม่มีหม่อมแม้น ตึกแม้นนฤมิตรซึ่งเป็นที่ก่อกำเนิดโรงเรียนเทพศิรินทร์คงยังไม่มี จึงนับว่าควรทำเครื่องหมายไว้เป็นที่ระลึกชายาสุดที่รักของสมเด็จพระราชปิตุลาฯ
-ดอกรำเพยนั้น หมายถึง สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เพราะพระนามเดิมของพระองค์ท่านว่า หม่อมเจ้าหญิงรำเพย ฯ การที่ทำเป็นเครื่องหมายไว้ ก็เพื่อเป็นประโยชน์แก่เด็กรุ่นหลังจะได้ระลึกอยู่เสมอว่า นามเทพศิรินทร์นั้นได้มาจากพระองค์ท่าน เป็นนามอันเป็นมงคลยิ่งควรรักษาไว้จงดี
ดอกรำเพย จึงถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์
 อักษรย่อ : "ท.ศ."
 ชื่อภาษาอังกฤษ :  Debsirin School
 สีประจำโรงเรียน : เขียว-เหลือง
 คติพจน์ : น สิยา โลกวฑฺฒโน (ไม่ควรเป็นคนรกโลก)
 ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ดอกรำเพย
 
  
 โรงเรียนเทพศิรินทร์
@debsirinsch โรงเรียนรัฐบาล
 
 

 

 TutorBento.com รับสอนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สอนพิเศษตัวต่อตัว ด้วยทีมติวเตอร์คุณภาพ


สมัครเรียนพิเศษที่บ้าน https://bit.ly/33zhwlN
สมัครเป็นติวเตอร์กับเรา https://bit.ly/3tAxUNL

 

 สนใจเรียนพิเศษที่บ้าน สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว สนใจหาครูสอนพิเศษ สนใจกวดวิชา

 สนใจติวเตอร์สอนตัวต่อตัว สนใจติวเตอร์สอนที่บ้าน Click 


 Download ข้อสอบ O-NET ป6

 Download ข้อสอบ O-NET ม3

 Download ข้อสอบ O-NET ม6

 Download ข้อสอบ 9วิชาสามัญ

 Download ข้อสอบ PAT

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้