ติวสอบเข้าโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา เรียนพิเศษที่บ้าน
ประวัติโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) สมัยดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช และ พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ได้ดำริตั้งโรงเรียนขึ้น เนื่องด้วย เมืองสงขลามีพลเมืองมากแต่ยังไม่มีโรงเรียนที่เป็นหลักเป็นฐาน วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2439 ได้มีการประกอบพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร" พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ประดิษฐานไว้บนแท่นบูชา เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและถวายพระพรชัย ในโอกาสนี้ได้มีการเรี่ยไรเงินจากประชาชนชาวสงขลาเพื่อสร้างโรงเรียน เป็นการถาวรขึ้น ได้เงินมา 3,940 บาท หวังจะสร้างโรงเรียนขึ้นบริเวณวัดนาถม (ซึ่งเป็นบริเวณโรงเรียนวิเชียรชมในปัจจุบัน) พร้อมกันนี้พระยาสุขุมนัยวินิต ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "มหาวชิราวุธ"
แต่การสร้างโรงเรียนในที่วัดนาถมยังไม่ทันเริ่ม "ศาลเมืองสงขลา" ว่างลง (บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ในปัจจุบัน) พระยาวิเชียรคีรี(ชม ณ สงขลา) อนุญาตให้ใช้ส่วนหนึ่งของศาลทำเป็นโรงเรียน เงินเรี่ยไรที่ได้มาจึงถูกแปรเป็น ค่าโต๊ะ เก้าอี้ และเงินบำรุงโรงเรียน ในโอกาสนี้ได้ย้ายนักเรียนที่วัดดอนแย้ มารวมกับนักเรียนใหม่ แล้วทำการเปิดสอนครั้งแรกที่ศาลาชำระความของพระยาวิเชียรคิรี มีนักเรียน 50 คน และ ครูทองดีเป็นครูใหญ่คนแรก ดำเนินการสอนแบบโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จึงนับได้ว่า โรงเรียนมหาวชิราวุธ ได้กำเนิดขึ้น ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2439
พ.ศ. 2442 มีนักเรียนเพิ่มเป็น 80 คน พระรัตนธัชมุณี ผู้อำนวยการศึกษาและเจ้าคณะมณฑลได้ออกตั้งโรงเรียน ตามจังหวัดต่างๆ สำหรับที่สงขลาเล็งเห็นว่า วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) เหมาะที่จะตั้งโรงเรียนหลวงได้ แต่ทราบว่า พระยาสุขุมนัยวินิตได้ตั้งโรงเรียนไว้แล้วที่ศาลาชำระความ พระยาวิเชียรคิรี จึงปรึกษากันให้ย้ายโรงเรียนมหาวชิราวุธ มาไว้ที่วัดกลาง โดยใช้ชื่อว่า "มหาวชิราวุธวิทยา" เป็นโรงเรียนหลวงของจังหวัดสงขลานับแต่นั้นมา
พ.ศ. 2448 เนื่องจากจำนวนนักเรียนมีมากขึ้นจึงได้ ย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่โรงพักพลตระเวน ริมคลองขวาง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองบังคับการจราจร สงขลา) และกลับไปใช้ชื่อโรงเรียนว่า "มหาวชิราวุธ"
พ.ศ. 2447 ที่วัดนาถมได้มีการสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมหาวชิราวุธขึ้น แล้วเสร็จในปี 2448 ตั้งใจจะย้ายมาเรียนที่อาคารหลังใหม่ แต่เนื่องในขณะนั้น โรงเรียนที่ตั้งอยู่ที่โรงพักพลตระเวณคลองขวางยังคงทำการสอนได้ไม่แออัด พระยาสุขุมนัยวินิตจึงใช้เป็นจวนข้าหลวงเทศาภิบาลเรียกว่า “สัณฐาคาร” โดยพระยาสุขุมนัยวินิตเข้าพักเป็นคนแรก ต่อมาเมื่อมีการสร้างตำหนักเขาน้อยขึ้น โรงเรียนจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ “สัณฐาคาร” บริเวณวัดนาถมตั้งแต่ปี 2457 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ ขณะประทับแรม ณ ตำหนักเขาน้อย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลว่า “เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2439 พระยาสุขุมนัยวินิต พระยาวิเชียรคิรี และกรรมการจัดการเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในโอกาสนั้นได้เรี่ยไรเงินสร้างโรงเรียนขึ้นและขนานนามว่า "มหาวชิราวุธ" จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมทรงพระราชวินิจฉัยว่าการจะควรประการใด
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณทรงมีพระราชหัตถเลขาแจ้งมาว่า
“โรงเรียนตั้งมานานปี มีผู้สำเร็จการศึกษาจบออกไปทำประโยชน์ แก่บ้านเมืองมากแล้ว จึงอนุมัติให้คงใช้ชื่อเดิมต่อไป” หลวงวิทูรดรุณกร ธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช ได้อัญเชิญพระราชหัตถเลขา มาอ่านให้ลูกเสือและเสือป่า
ซึ่งประชุมรอรับเสด็จอยู่ในสนามหน้าสโมสรเสือป่าได้ฟัง ทั้งลูกเสือและเสือป่า ซึ่งส่วนมากเป็นนักเรียนเก่า รวมทั้งครูอาจารย์ที่ประชุมอยู่ ณ ที่นั้น "ต่างเปร่งเสียงไชโย สนั่นก้องกังวาน อยู่เป็นเวลานาน และทุกคนต่างน้ำตาไหล ด้วยความปีติตื้นตัน อย่างไม่เคยประสบมาเลยในชีวิต"
พ.ศ. 2484 - 2488 โรงเรียนมหาวชิราวุธ เข้าสู่ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกทางชายฝั่งทะเลอ่าวไทยหลายจังหวัดรวมทั้งสงขลา เกิดการปะทะกับญี่ปุ่นในหลายจังหวัด รัฐบาลไทยสั่งยุติการสู้รบเพราะไม่มีกำลังพอที่จะต้านทานญี่ปุ่นได้ และได้ทำความตกลงกับญี่ปุ่นให้กองทัพเดินผ่านประเทศไทยได้ โดยญี่ปุ่นหวังใช้ไทยเป็นเส้นทางเดินทัพ ไปยึดครองมาลายู(มาเลเซีย) และพม่าที่อยู่ภายใต้การครอบครองของอังกฤษ สงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้อุบัติขึ้น สำหรับโรงเรียนมหาวชิราวุธ ถูกทหารญี่ปุ่นยึดเป็นที่อยู่อาศัยและโรงพยาบาลสนาม หนังสือ โต๊ะและม้านั่ง ถูกใช้ทำเป็นฟืนหุงข้าวหมด อาคารต่างๆ ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก
พ.ศ.2485 เครื่องบินอังกฤษได้มาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศปิดโรงเรียนและงดสอบไล่ โดยถือว่านักเรียนที่มีเวลาเรียนร้อยละ 60 ขึ้นไป สอบไล่ได้ทุกคน ในปีต่อมาญี่ปุ่นรุกเข้าไปในพม่า สงครามจึงไกลเมืองไทยไป ในปีการศึกษา 2485 จึงเปิดเรียนได้อีกครั้ง แต่ในต้นปีการศึกษา 2488 มีเครื่องบินยิงปืนกลอากาศยิงกราดและทิ้งระเบิดที่สงขลา ประชาชนวิ่งหนีลงหลุมหลบภัยกันจ้าละหวั่น ระเบิดสร้างความเสียหายหลายแห่ง โรงเรียนจึงปิดอีกครั้ง จนกระทั่งวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรของอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรชิมา 3 วันต่อมาได้ทิ้งระเบิดที่เมืองนางาซากิ ทำให้ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไข สงครามมหาเอเชียบูรพาที่ดำเนินมาเกือบ 4 ปี ยุติลง โรงเรียนมหาวชิราวุธ จึงเข้าสู่ยุคฟื้นฟูและปฏิรูป โดยการนำของอาจารย์พงศ์อินทร์ ศุขขจร ครูใหญ่คนใหม่
พ.ศ. 2488 มีการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาในระดับมัธยมขึ้นใหม่ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบในการเปิดสอนระดับเตรียมอุดมศึกษาขึ้นในโรงเรียนบางแห่งเช่นเดียวกับที่เคยจัดระดับ ม.7 – ม.8 ในสมัยก่อน โดยโรงเรียนมหาวชิราวุธ ได้เปิดแผนกอักษรศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ อย่างละ 1 ห้องเรียน ในช่วงนี้อาคารที่ใช้เรียนมีเพียง 2 หลัง คือ อาคารรูปตัวยู(U) และอาคาร 2487 ซึ่งคับแคบและชำรุดทรุดโทรมมากทำให้ อาจารย์พงศ์อินทร์ ศุขขจร ดำริที่จะสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้งดงามทันสมัย และพอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งพ่อค้า ประชาชน และข้าราชการ บริจาคเงินเป็นทุนก่อสร้างในเบื้องต้นเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. 2490 – 2509 เป็นยุคหลังจากสงครามและเริ่มเกิดการฟื้นฟูในหลายด้านเพราะได้รับความเสียหายอย่างมาก จากสงครามเอเชียบูรพา จึงต้องทำการปรับปรุงอาคารสถานที่ที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักเรียนและครูอาจารย์
วันที่ 1 มกราคม 2490 โรงเรียนมหาวชิราวุธมีอายุครบ 50 ปี จึงเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ โดยกำหนดการวางศิลาฤกษ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน 2490 เวลา 10.48 นาฬิกา โดยมีหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีอาคารหลังใหม่นี้เริ่มก่อสร้างในปี 2491 นอกจากนี้อาจารย์พงศ์อินทร์ ศุขขจร ได้แต่งเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนเอาไว้ด้วยและใช้มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
“น้ำเงินและขาว เราบูชา สีมหาวชิราวุธที่เคยรุ่งเรือง ต้องเชิดชูให้ประเทือง เป็นขวัญเมืองคู่กับแผ่นดินในถิ่นของไทย” เนื้อเพลงมาร์ชน้ำเงิน-ขาว แต่งไว้หลังสงครามโลก จึงมุ่งหวังจะแต่งขึ้นเพื่อปลุกใจให้ชาวมหาวชิราวุธร่วมใจกันพัฒนาโรงเรียนที่รักและศรัทธาให้คงรุ่งเรืองเป็นขวัญเมืองคู่กับแผ่นดินในถิ่นของไทยตลอดไป
พ.ศ. 2492 อาจารย์พงศ์อินทร์ ศุขขจร ย้ายไปรับราชการที่กรุงเทพมหานคร ทำให้อาจารย์คิด เลิสสิริ ก้องสมุท ครูใหญ่โรงเรียนประจำอำเภอทุ่งสง ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนในปี 2496 และอาคารใหม่ซึ่งตั้งเป็นอาคาร 1 ได้
เสร็จสมบูรณ์ในปี 2496 นี่เอง
พ.ศ. 2497 อาจารย์ชื้น เรืองเวช ได้ย้ายมาเป็นอาจารย์โรงเรียนมหาวชิราวุธ แทนอาจารย์คิดเลิสสิริ ก้องสมุท สมัยนี้เน้นการทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรและทำกิจกรรมร่วมกับสังคมภายนอกเป็นการนำโรงเรียนเข้าสู่ชุมชน
พ.ศ. 2505 ได้สร้างโรงอาหาร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว และได้รื้อถอนแล้ว
พ.ศ. 2507 อาจารย์ชื้น เรืองเวช ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และ อาจารย์จรัญ โสตถิพันธุ์ มาเป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2508 สร้างอาคารคหกรรมศิลป์ เป็นอาคารชั้นเดียว ในปีนี้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มาเยี่ยมชมโรงเรียน
พ.ศ. 2509 ได้สร้างอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง นั่นคืออาคารเรียน 2 ซึ่งปัจจุบันได้รื้อถอนเพื่อสร้างหอประชุมเปรม 100 ปี มาหวชิราวุธ
พ.ศ. 2510 สร้างหอประชุม 1 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว (ได้รื้อถอนไปเพื่อสร้างอาคารพยาบาล) สร้างโรงพลศึกษารัตนปราการ โดยนายสุชาติ รัตนปราการ ได้บริจาคเงินสร้างให้กับโรงเรียนมหาวชิราวุธ (ปัจจุบันได้รื้อถอนไปเพื่อสร้างอัฒจันทร์สนามกีฬา)
พ.ศ. 2512 สร้างเรือนฝึกดนตรีสากล เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว นอกจากนี้ยังเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียน จากเสื้อสีขาว กางเกงสีกากี เป็นเสื้อขาว กางเกงสีน้ำเงิน และใน พ.ศ. 2512 เปลี่ยนเป็นปักชื่อโรงเรียนจาก ส.ข.๑ เป็น ม.ว.
พ.ศ. 2513 สร้างอาคาร 424 เป็นอาคารคอนกรีต 4 ชั้น คืออาคารเรียน 3 ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2514 อาจารย์นิยม เสรรัตน์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ย้ายมาเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ ในปีนี้อาคาร 3 ที่สร้างไว้เมื่อปี 2513 ได้เสร็จสมบูรณ์ ในปีเดียวกันนี้ทาง ราชการได้จัดสรรงบประมาณให้ สร้างอาคาร 424 (อาคารเรียน 4) และโรงงานช่างยนต์ 1 หลัง นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนักเรียนออกเป็นกลุ่มชั้นละ 1 กลุ่ม
พ.ศ. 2515 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดระดับโรงเรียนให้โรงเรียนมหาวชิราวุธเป็นโรงเรียนชั้นพิเศษ และให้งบประมาณสร้างโรงฝึกงานอีก 1 หลัง คือ โรงฝึกช่างไม้และช่างโลหะ และในปีนี้ คุณแม่สมบูรณ์ ประธานราษฎร์นิกร และนายสุชาติ ประธานราษฎร์นิกรได้บริจาคเงิน 1,500,000 บาท สร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น 10 ห้องเรียนให้แก่โรงเรียนมหาวชิราวุธ เรียกว่า อาคารสมบูรณ์อุทิศ (ประธานราษฎร์นิกร) หรือ อาคารเรียน 5
พ.ศ. 2517 กรมสามัญศึกษา มีคำสั่งให้โรงเรียนรับนักเรียนผลัดบ่าย ทำให้มีนักเรียนมากขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนมหาวชิราวุธได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค โดยใช้หลักสูตร คมส
พ.ศ. 2518 กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย 2518 ในโรงเรียนจึงมีการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือหลักสูตร 2518 ในปีนี้คุรุสภาได้อนุมัติแต่งตั้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนชั้นพิเศษ
พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้โรงเรียนมหาวชิราวุธ เปิดสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับ 5 โดยเปิด 4 ห้องเรียน 3 แผนก คือศิลปะฝรั่งเศส ศิลปะคณิตศาสตร์ และธุรกิจ เปิดได้ปีเดียวก็ต้องงด เพราะโรงเรียนไม่มีความ
พร้อม
พ.ศ. 2521 เป็นปีที่เริ่มหลักสูตรใหม่ โดยจัดการศึกษาเป็น 6-3-3 โรงเรียนจึงต้องเปิดรับนักเรียน 2 ประเภท คือนักเรียนที่จบประถมศึกษาปีที่ 7 เข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาที่ 6 เข้าศึกษาในชั้นมัธยมปีที่ 1 ในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณ เพื่อก่อสร้างหอประชุม 1 หลัง โรงฝึกงานช่างยนต์ – ช่างไฟฟ้า และโรงพลศึกษา 1 หลัง
ในปีนี้คณะกรรมการนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธมีมติให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ ณ โรงเรียนมหาวชิราวุธ โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2522 กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบและหล่อปั้น แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2525 จากนั้น อัญเชิญมาประดิษฐานที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ วันที่ 18 สิงหาคม 2525
วันที่ 29 สิงหาคม 2525 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นประธานดำเนินการจัดสร้าง และเป็นผู้ถวายคำกราบบังคมทูลในพิธี โดยก่อนจะอัญเชิญมาประดิษฐานที่โรงเรียน วงโยธวาทิตนำขบวนอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์เลียบเมืองสงขลาให้ชาวสงขลาได้ร่วมชื่นชม
พ.ศ. 2527 อาจารย์โกศล ดวงพัตรา ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธได้มีการพัฒนาด้านอาคารสถานที่เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ในปี 2528 คณะศิษย์เก่าได้คิดที่จะสร้างหอสมุดให้กับโรงเรียน โดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้บริจาคเงินห้าแสนบาทถ้วน เป็นทุนแรกเริ่มในการสร้างหอสมุด มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 26 สิงหาคม 2528 และในวันที่ 28 มิถุนายน 2530 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อนุมัติให้ใช้ชื่อหอสมุดนี้ว่า หอสมุดติณสูลานนท์
วันที่ 26 สิงหาคม 2530 ทำพิธีเปิดหอสมุดติณสูลานนท์ และได้สร้างลานเอนกประสงค์หน้าอาคารเรียน 1 โดยความร่วมมือของครูและนักเรียน สร้างสวนสุขภาพ สร้างสวนสมุนไพรเชิงเขาน้อย และเริ่มก่อสร้างอาคารเรียน 6
พ.ศ. 2532 - 2534 อาจารย์ไพบูลย์ พิชัยวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนระโนดวิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน มีการพัฒนาทางด้านวิชาการ อาทิเช่น โครงการความเป็นเลิศทางวิชาการ การพัฒนาการเรียนการสอนและการนำคอมพิวเตอร์มาบริหารงาน สร้างหอพักนักกีฬา และได้ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา ทำการสมโภชเบิกเนตร เมื่อวันที่ 14 – 15 ธันวาคม 2533
พ.ศ. 2534 - 2537 นายสว่าง หนูสวัสดิ์ ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธ ได้สานต่อเจตนารมณ์ของผู้อำนวยการโรงเรียนคนก่อนให้สัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น พัฒนากีฬาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จัดตั้งกองทุนกีฬาโรงเรียน จัดตั้งชมรมผู้ปกครองและครูมหาวชิราวุธ จัดตั้งห้องพิพิธภัณฑ์โรงเรียน ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารภายใน และยกระดับกีฬาเป็นฝ่ายหนึ่งในการดำเนินงาน
พ.ศ. 2537 - 2539 นายสุวิชช์ ศรีทิพยราษฎร์ ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธ ได้พัฒนาอาคารสถานที่ สร้างบรรยากาศห้องเรียนให้น่าเรียนและริเริ่มในการรับนักเรียนผู้หญิงเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2538 เป็นปีแรกและเริ่มสร้างอาคาร 100 ปี มหาวชิราวุธ และในปี พ.ศ. 2539 ได้วางศิลาฤกษ์อาคาร 100 ปี มหาวชิราวุธ (อาคารเรียน 7) โดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธี เป็นอาคารคอนกรีต 6 ชั้น เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จะมีอายุครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 นอกจากนี้ยังได้มีการจัดสร้างป้ายชื่อโรงเรียนและรั่วทางด้านทิศใต้ถนนสะเดา ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารภายใน เนื่องจากปริมาณที่เพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับยุคสมัยของยุคโลกาภิวัตน์
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 นางบุญงาม ไชยรัตน์ ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธคนที่ 23 และเป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของมหาวชิราวุธ และได้รวมพลังคณะครู นักเรียนทั้งเก่าและปัจจุบัน รวมทั้งชาวสงขลาร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสโรงเรียนครบรอบศตวรรษ งาน 100 ปี มหาวชิราวุธ สร้างความประทับใจให้ไม่รู้ลืม
พ.ศ. 2541 - 2545 นายสัญญา ณ พิบูลย์ ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธคนที่ 24
พ.ศ. 2545 - 2548 นายโสภณ สุขโข ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธคนที่ 25
พ.ศ. 2548 - 2554 นายสัจจา ศรีเจริญ ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธคนที่ 26
พ.ศ. 2554 - 2557 นายชัยยุทธ บัวตูม ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธคนที่ 27
พ.ศ. 2557 - 2559 นายชัยณรงค์ เซ่งบุญเล่ง ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธคนที่ 28
พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน ว่าที่ร้อยตรีโกศล สุวรรณมณี ได้ย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธคนที่ 29
ตราประจำโรงเรียน : เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีลักษณะเป็นตราวชิระ ประดับรัศมี 21 แฉก มีอักษรย่อ ม.ว.(มหาวชิราวุธ) ประดับข้างซ้าย-ขวา ด้านล่างปรากฏสุภาษิตประจำโรงเรียนว่า "รกฺขาม อตฺตโน สาธุ"
อักษรย่อ : " ม.ว. "
ชื่อภาษาอังกฤษ : MAHAVAJIRAVUDH SONGKHLA SCHOOL
สีประจำโรงเรียน : น้ำเงิน-ขาว
-สีน้ำเงิน หมายถึง ความเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
-สีขาว หมายถึง ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตใจบริสุทธิ์ ยึดมั่นในศาสนา
คติพจน์ : รกฺขาม อตฺตโน สาธุ (พึงรักษาความดีของตนไว้)
เอกลักษณ์ : รัก ศรัทธา "มหาวชิราวุธ"
อัตลักษณ์ : เคารพครู เชิดชูสถาบัน ผูกพันน้องพี่ มีจิตสาธารณะ
โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
@mahavajiravudhschool · โรงเรียนมัธยม
TutorBento.com รับสอนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สอนพิเศษตัวต่อตัว ด้วยทีมติวเตอร์คุณภาพ
สมัครเรียนพิเศษที่บ้าน https://bit.ly/33zhwlN
สมัครเป็นติวเตอร์กับเรา https://bit.ly/3tAxUNL
สนใจเรียนพิเศษที่บ้าน สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว สนใจหาครูสอนพิเศษ สนใจกวดวิชา
สนใจติวเตอร์สอนตัวต่อตัว สนใจติวเตอร์สอนที่บ้าน Click
Download ข้อสอบ O-NET ป6
Download ข้อสอบ O-NET ม3
Download ข้อสอบ O-NET ม6
Download ข้อสอบ 9วิชาสามัญ
Download ข้อสอบ PAT