ติวสอบเข้าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เรียนพิเศษที่บ้าน

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

ติวสอบเข้าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เรียนพิเศษที่บ้าน
 
 ประวัติโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
พ.ศ. 2429 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการศึกษาถึงมวลราษฎรทั่วไปโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงในวัดสำหรับจังหวัดราชบุรีจัดให้มีขึ้นที่วัดสัตตนารถปริวัตร จึงมีโรงเรียนหลวงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาให้มีระบบแบบแผนตามแบบตะวันตก โรงเรียนหลวงในวัดสัตตนารถปริวัตรได้รับการปรับปรุงให้เป็นทางการในปี พ.ศ 2540 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อำมาตย์โทพระบำนาญ วรวัจน์ (ตาบ ผลชีวะ) เป็นข้าหลวงธรรมการมณฑลราชบุรีรับผิดชอบจัดการศึกษาจึงได้เปลี่ยนฐานะเป็น “โรงเรียนตัวอย่างวัดสัตตนารถปริวัตร” โดยใช้ศาลาการเปรียญ (ศาลาต้นจัน) ที่อยู่หน้าวัดให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดาเรื่อยมา

พ.ศ. 2455 ทางราชการธรรมการมณฑลราชบุรีมีประกาศเชิญชวนพ่อค้าประชาชนและข้าราชการร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างตึกเรียนถาวรขึ้นในที่ดินของวัดสัตตนารถเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาคารตึกหลังนี้เป็นรูปทรงปั้นหยา 2 ชั้น 6 ห้องเรียน กว้าง 11 เมตร ยาว 27 เมตร  

วันที่ 21 กันยายน 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทรงทำพิธีเปิดโรงเรียนและพระราชทาน นามว่า “โรงเรียนเบญจมราชูทิศ” แปลว่า อุทิศแด่พระราชาองค์ที่ 5 ซึ่งหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชื่อโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จึงกำหนดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จากนั้นจึงได้ย้ายนักเรียนบางส่วนจากศาลาต้นจันและกุฏิพระในวัดสัตตนารถปริวัตรมาเรียนที่อาคารหลังใหม่แต่บางส่วนยังเรียนอยู่ที่เดิมทางราชการขนานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า“โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลราชบุรีเบญจมราชูทิศ” ในระยะแรกสอนตั้งแต่ชั้นมูลถึงชั้นประถมศึกษาสืบมา 

พ.ศ. 2459 จึงได้ขยายเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ พ.ศ.2460 ได้สร้างอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวเพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง พ.ศ.2462 นายแก้ว สุวรรณดิษ บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยาใต้ถุนสูงและเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

พ.ศ. 2469 ได้แยกนักเรียนหญิงทุกชั้นออกไปเรียนที่โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดราชบุรี และได้ยุบเลิกการสอนชั้นมูลและชั้นประถมศึกษา เปิดการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6)
พ.ศ. 2516 ทำการรื้อถอนเรือนแก้ว สุวรรณดิษและเรือนไม้สีเทา เพื่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น แบบ 418 พิเศษ (อาคาร 2) แล้วนำวัสดุที่เหลือมาสร้างอาคารเรือนไม้สองชั้น บริเวณด้านหน้าโรงอาหาร ให้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า “เรือนแก้วสุวรรณดิษ”

พ.ศ. 2518 สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น แบบ 418 (อาคาร 3)และในปีเดียวกันคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และศิษย์เก่าของโรงเรียน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ในบริเวณโรงเรียน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบรมรูปนี้หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 190 เซนติเมตร ประทับยืนบนฐานสูง 3 เมตร โดยอาจารย์จำนงค์ ฤทธิ์นุ่ม เป็นผู้ปั้น ปัจจุบันประดิษฐานไว้ที่เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์

พ.ศ. 2518 สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น แบบ 418 (อาคาร 3)และในปีเดียวกันคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และศิษย์เก่าของโรงเรียน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ในบริเวณโรงเรียน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบรมรูปนี้หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 190 เซนติเมตร ประทับยืนบนฐานสูง 3 เมตร โดยอาจารย์จำนงค์ ฤทธิ์นุ่ม เป็นผู้ปั้น ปัจจุบันประดิษฐานไว้ที่เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์

 พ.ศ. 2529 สร้างหอประชุมแบบ 2 ชั้น (อาคารอเนกประสงค์) 

พ.ศ. 2530 สร้างอาคารสมาคมศิษย์เก่าฯโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ มีอาคารฝึกงาน 2 หลังและเบญจมราชู-ทิศพิพิธภัณฑ์ 

พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 7 ชั้น (อาคาร 5) และสร้างเสร็จสมบูรณ์ พ.ศ.2542 อันเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ จึงได้รับพระราชทานนามอาคารว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา” และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นวันที่โรงเรียนจัดงานฉลองครบรอบ 111 ปี การก่อตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

พ.ศ. 2550 นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2549 ได้จัดสร้างพระพุทธเมตตามหามงคล  เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา โดยพลโทภานุมาต สีวะรา  ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  เป็นประธานเททอง/มอบองค์พระ  และดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิพาณิชย์  ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นผู้รับมอบพระพุทธเมตตามหามงคล  ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าอันมีพระมหาเมตตาอันเป็นมงคลยิ่ง
วันที่ 21 กันยายน 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทรงทำพิธีเปิดโรงเรียนและพระราชทานนามโรงเรียนว่า “เบญจมราชูทิศ” 







พ.ศ. 2544 ทางโรงเรียนจึงขออนุญาตรื้อเรือนแก้ว สุวรรณดิษ เนื่องจากทรุดโทรมมากไม่สามารถจะบูรณะซ่อมแซมต่อไปได้อีกและนำชื่อ “เรือนแก้วสุวรรณดิษ” ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อไว้เป็นอนุสรณ์ ส่วนพื้นที่ของเรือนแก้ว สุวรรณดิษ ใช้เป็นโรงอาหารสำหรับนักเรียน

พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้รับมอบที่ดินติดกับโรงเรียน ซึ่งเดิมเป็นเรือนจำกลาง จังหวัดราชบุรี จากกรมราชทัณฑ์ จำนวน 9 ไร่ 98 ตารางวา และได้ทำพิธีวางหมุดเขตพื้นที่ส่วนขยายและบำเพ็ญกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ.2546    

พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ได้บูรณะโรงเรียน โดยซื้อที่ดินเพิ่มเติม สร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นจนถึง พ.ศ.2497 จึงได้เปิดสอนถึงชั้นประโยคเตรียมอุดมศึกษา (ม.7 และ ม.8) 

พ.ศ. 2512 สร้างอาคารเรียน 4 ชั้นแบบ 418 (อาคาร 1) พ.ศ.2514 รื้ออาคารหลังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาทรงเปิด เพราะชำรุดทรุดโทรมมาก

 พ.ศ. 2515 สร้างโรงอาหารในปัจจุบันโดยใช้งบประมาณของกองสลากกินแบ่งรัฐบาลสมทบกับเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียน
พ.ศ. 2551ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล (ตอกเข็ม) เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น (อาคาร6) มีห้องเรียน 24 ห้องเรียน

 พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 1 กรกฎาคม

ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World class standard school) ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ.2558 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสร้างอาคารเรียนพิเศษ 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง

พ.ศ.2560 สมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ ราชบุรี สร้างอาคารศูนย์เรียนรู้สมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ ราชบุรี 4 ชั้น
 

 อักษรย่อ : " บ.ช. "
 ชื่อภาษาอังกฤษ : Benjamarachutit Ratchaburi
 สีประจำโรงเรียน : น้ำเงิน-ชมพู
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
สีชมพู หมายถึง สีประจำวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 คติพจน์ : สัจจํเว อมตา วาจา ( วาจาจริง เป็นวาจาไม่ตาย )
 คำขวัญ : คนดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำชุมชน
 เอกลักษณ์ : สร้างคนดี รักศักดิ์ศรีความเป็นไทย ก้าวไกลวิชาการ
 อัตลักษณ์ : เรียนดี มีวินัย ภูมิใจในสถาบัน
 
  
 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
โรงเรียนมัธยม

 
 

 

 TutorBento.com รับสอนพิเศษที่บ้าน ครูสอนพิเศษ สอนพิเศษตัวต่อตัว ด้วยทีมติวเตอร์คุณภาพ


สมัครเรียนพิเศษที่บ้าน https://bit.ly/33zhwlN
สมัครเป็นติวเตอร์กับเรา https://bit.ly/3tAxUNL

 

 สนใจเรียนพิเศษที่บ้าน สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว สนใจหาครูสอนพิเศษ สนใจกวดวิชา

 สนใจติวเตอร์สอนตัวต่อตัว สนใจติวเตอร์สอนที่บ้าน Click 


 Download ข้อสอบ O-NET ป6

 Download ข้อสอบ O-NET ม3

 Download ข้อสอบ O-NET ม6

 Download ข้อสอบ 9วิชาสามัญ

 Download ข้อสอบ PAT

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้